• แปลงที่ไม่ได้ใส่ไนโตรเจน
    ซึ่งข้าวมีสีเขียวอ่อน

  • ลักษณะใบข้าวที่ขาดไนโตรเจน ซึ่งใบ
    จะเล็กกว่าและสีอ่อนกว่า ใบข้าวที่ได้รับ
    ไนโตรเจนพอเพียง (ซ้ายมือ)

  • ข้าวโพด ที่ขาดธาตุอาหาร

  • ฝ้าย ที่ขาดธาตุอาหาร

ไนโตรเจน N

ไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบของสารอินทรีย์ โดยเป็นส่วนประกอบโครงสร้างของพืช เช่น คลอโรฟิลล์ กรด อะมิโนและองค์ประกอบของโปรตีนซึ่งเกี่ยวข้อง กับขบวนการเจริญเติบโตของพืช หากขาดธาตุไนโตรเจน จะทำให้ต้นแคระแกร็น ใยอ่อนเล็กเรียว ใบล่างแก่จะมีสีเหลืองซีด แหล่งไนโตรเจนสามารถได้จาการตึงใน บรรยากาศหรือจากการย่อยสลายสารอินทรีย์ซากพืช ซากสัตว์ที่ตายแล้ว บทบาทของไนโตรเจน ถ้าสูงมากจะทำให้ต้นพืชมีการขยายเซลล์มาก ทำให้ต้นมีการอ่อนแอ ต่อการทำลายของโรค และในพืชที่ให้ผลผลิตอาจมีปัญหา ในการเจริญทางกิ่งใบไม่มีการสะสมอาหารเพื่อให้ผลผลิต

  • การขาดธาตุอาหาร
  • เปลี่ยนสีเขียวของใบแก่เป็นสีเหลือง สีน้ำตาลและใบแห้งตายการเจริญเติบโตช้า ต้นเตี้ย มีความสมบูรณ์ช้าลง
  • การได้รับธาตุอาหารเกินความจำเป็น
  • จะมีสีเข้ม มีการแตกใบใหม่และใบอ่อน ง่ายต่อการเข้าทำลายของโรคและแมลง หากเกิดสภาพแห้งแล้ง ต้นพืชจะหักล้มง่าย มีการให้ผลผลิตน้อย
  • พิษจาก Ammonium
  • ในกรณีให้ปุ๋ยในรูปแอมโมเนียมไนเตรท (NH4N) อาจเกิดพิษของแอมโมเนียม มีผลให้ลดการเจริญเติบโต และโรคก้นผลเน่า